คณิตศาสตร์

6 comments:

  1. ถ้าไม่มีเครื่องคำนวณจะหาารากที่สองได้อย่างไร

    ปกติการหารากที่สอง ถ้าค่าของรากที่ได้ไม่ลงตัวเป็นจำนวนเต็มคือมีค่าเป็นทศนิยม เช่น sqrt(3)= 1.732, sqrt(5)=2.236.. หรือแม้ค่ารากจะเป็นจำนวนเต็มแต่ถ้าตัวเลขที่จะหารากเป็นเลขหลายหลักและไม่คุ้นกับตัวเลขนั้น เช่น sqrt(24649)=157 ก็จะคาดเดาได้ยาก จึงมักใช้เครื่องคิดเลข หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยคำนวณหา แต่เราสามารถคำนวณหาค่าของรากด้วยมือได้เช่นเดียวกันให้มีความถูกต้องแม่นยำเท่าใดก็ได้

    ทั้งนี้โดยอาศัยหลักพีชคณิต โดยเริ่มพิจารณาจาก กรณีเลข สองหลัก เช่น
    54 = 10x5+4 =10a + b
    54^2= (10x5)^2 + 2(10x5)4 +4^2= (10x5)^2 +( 2(10x5) +4)4
    (10a+b)^2 = (10a)^2 +( 2(10a)+b)b

    จึงกลายเป็นรูปแบบวิธีการคำนวณหารากด้วยมือ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ โดยแบ่งตัวเลขที่ละสองหลักโดยมีจุดทศนิยมเป็นจุดตั้งต้น แบ่งไปทางซ้ายและขวาของจุดทศนิยม แล้วตั้งหาร เช่น 24649 แบ่งเป็น 2 46 49

    _1__5__ _7
    1 )2 46 49 1^2
    1_____
    2 5 )1 46 2x(10x1) +5
    1 25
    -------
    3 0 7) 21 49 2x(10)+ 2x5=30--> 10x(30)+7
    21 49
    =====

    ทำนองเดียวกัน
    ถ้าหา sqrt(5) ก็แบ่ง 5 เป็น 5. 00, 00, 00 แล้วคำนวณหาในทำนองเดียวกัน ได้

    2. 2 3 6
    ________
    2 ) 5. 00 00 00
    4
    ______
    4 2 ) 1 00
    84
    ________
    4 4 3 ) 16 00
    13 29
    ______
    4 4 6 6 ) 2 71 00
    2 67 96
    _______
    3 04

    เนื่องจากการแสดงสัญญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ใน blog ไม่สะดวก จึงเว้นรายละเอียดไปมาก ถ้าไม่เข้าใจ สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก
    Mathebook version 2.5 หน้า 108 ebook นี้สามารถ download ได้ฟรีจาก math.kanuay.com

    จากผม
    บุญช่วย ภัทรเลิศศิริ
    ประธานเครือข่ายผู้ปกครองระัดับชั้น ม5

    มีปัญหาคณิตปรึกษาได้ฟรีครับ เป็นบริการส่งเสริมทางวิชาการจากเครือข่ายผู้ปกครองฯ โพสต์โจทย์ถามได้ครับ
    081-306-5635
    boonchuaypster@gmail.com
    http://www.facebook.com/profile.php?id=100003271368686

    ReplyDelete
  2. ตำแหน่งเลขหลักต่างๆ ผิดไปหมด ไม่เหมือนตอนพิมพ์ ทำให้อ่านได้ยาก เอามาแก้ไขใหม่ก็ไม่ได้ต้องพิมพ์ใหม่หมด

    บุญช่วย

    ReplyDelete
  3. ข้อสังเกตเกี่ยวกับรากของสมการพหุนาม (polynomial) ที่มีสัมประสิทธิืเป็นจำนวนจริง

    -รากที่เป็นอตรรกะ คือติด sqrt จะมีเป็นคู่เสมอ เช่นถ้ามี รากหนึ่งเป็น 2+sqrt(3) ก็ต้องมีอีกรากหนึ่งเป็น 2-sqrt(3) เสมอ

    -และสำหรับรากที่เป็นจำนวนเชิงซ้อน(ระดับม.5 เลขเพิ่มเติม) ก็จะมีเป็นคู่เหมือนกัน คือรากตัวหนึ่งจะเป็น conjugate ของอีกตัวหนึ่ง เสมอ คือส่วนจินตภาพจะมีเครื่องหมายต่างกัน เช่น
    2 + 3i, 2-3i เป็นต้น

    -การสังเกตหรือเดาหาค่ารากของ พหุนาม ถ้าดูเหมือนการแทนค่าด้วยตัวเลขง่ายๆเช่น 1 หรือ -1 แล้วน่าจะได้ค่าพหุนามเป็น 0 แต่ไม่ได้ ให้ลองแทนด้วยค่ารากเป็นจำนวนจินตภาพ เช่น i, หรือ -i แล้วทำให้เครื่องหมาย ของแต่ละจำนวนย่อยเป็นไปในลักษณะที่ผลรวมหักล้างกันเป็น 0 ได้

    -เมื่อกำหนดค่าของรากบางตัวมาให้ หรือการสมมุติหาค่ารากที่เป็นจำนวนง่ายๆ แทนที่จะลองแทนค่า รากนั้นลงในพหุนามโดยตรง ให้ใช้การหารสังเคราะห์แทน เพราะทำได้ง่ายกว่าเร็วกว่า แถมเป็นการแยกแฟกเตอร์ไปในตัว

    -ผลรวมของรากของพหุนาม จะเท่ากับ ค่าสัมประสิทธิของ กำลังตัวแปรที่ต่ำกว่าสูงสุดลงมาหนึ่งทีกลับเครื่องหมายแล้ว เช่น
    x^5 + 8x^4+.... ผลบวกของรากจะเท่ากับ -8
    และถ้า สัมประสิทธิ์ของตัวแปรยกำลังต่ำกว่าสูงสุดมาหนึึ่่ง เป็น 0 ก็หมายความว่าผลบวกของรากเท่ากับ 0
    เช่น x^5 +7x^3+..... จะมีผลบวกของรากเท่ากับ 0 เป็นต้น

    -รากของสมการพหุนามมีโอกาสซ้ำกันได้ เช่น มี 1,1,... เป็นต้น ดังเช่น ข้อสอบกลางภาคคณิตเพิ่มเติมม.5 ข้อ 18 แต่แสดงข้อให้เลือกรากของ สมการกำลัง 5 เป็นสี่ราก คือรวม ราก ซ้ำ 1,1 เป็นรากเดียว อาจทำให้นักเรียนบางคนงง เพราะผลบวกของราก ไม่เท่ากับ 2 ถ้าไม่คิดค่าซ้ำของราก = 1 ซึ่งถ้ามีเวลาหารสังเคราะห์ออกมา ซึ่งก็ทำได้โดยง่าย ก็จะเลือกคำตอบเป็น ข้อ 4

    บุญช่วย ภัทรเลิศศิริ
    ประธานเครือข่ายผู้ปกครองฯชั้น ม5

    ReplyDelete
  4. ในอนาคตคงต้องปรับปรุงให้ blog นี้สามารถ upload เพื่อแสดงภาพได้ หรือไม่ก็ให้format ข้อความได้ เพราะตอนนี้ spacebar จะหายหมด ทำให้ไม่เหมาะในการแสดงบทความทางคณิตศาสตร์
    บุญช่วย ภัทรเลิศศิริ

    ReplyDelete
  5. มีคำถามโพสต์ที่นี้ก็ได้ครับ หรือผ่าน boonchuaypster@gmail.com ก็ได้

    ReplyDelete
  6. ต้องการเฉลยข้อสอบ สงสัยอะไรถามได้ที่กลุ่มเปิดต่อไปนี้
    ม ปลาย
    https://www.facebook.com/groups/HighSchoolMath/
    https://www.facebook.com/groups/HighSchoolEnglish/
    https://www.facebook.com/groups/HighSchoolPhysics/
    https://www.facebook.com/groups/HighSchoolChemistry/

    มีเพิ่มกลุ่มคณิตและกลุ่มอื่นสำหรับมัธยมต้นด้วยครับ
    https://www.facebook.com/groups/JHighSchoolMath/
    https://www.facebook.com/groups/JHighSchoolPhysics/
    https://www.facebook.com/groups/JHighSchoolChemistry/
    https://www.facebook.com/groups/JHighSchoolBiology
    https://www.facebook.com/groups/JHighSchoolEnglish

    ReplyDelete